ความหมายของจริยธรรม
คำว่าจริยธรรม มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต เกิดจากการนำคำ 2 คำมารวมกัน ระหว่าง จริย กับ ธรรม เกิดเป็นคำใหม่ คือ จริยธรรม แปลโดยศัพท์ได้ ดังนี้
- จริย หมายถึง ความประพฤติ การปฏิบัติ กิริยาที่ควรประพฤติ
- ธรรม หมายถึง คุณความดี บุญกุศล ข้อบังคับ กฎ หลัก คำสั่งสอนทางศาสนา
สรุป คำว่า จริยธรรม หมายถึง การแสดงออกทางการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่แสดงให้
เห็นถึงการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและอยู่ในกรอบของศีลธรรม
นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในขอบข่าย
ของจริยธรรมอีก ได้แก่
- จริยศาสตร์ หมายถึง “ปรัชญาสาขาหนึ่ง
ว่าด้วยความประพฤติและการครองชีวิต
ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรผิดอะไรถูกหรืออะไรควรอะไรไม่ควร”
- ศีลธรรม หมายถึง “ความประพฤติที่ดี ที่ชอบ ธรรมในระดับศีลศีลและธรรม”
- จรรยาบรรณ หมายถึง “ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างที่กำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้”
- คุณธรรม คือ “ธรรมที่เป็นคุณ ความดีงาม สภาพที่เกื้อกูล”
- ความสำคัญของจริยธรรม
- จริยธรรมมีความสำคัญทั้งต่อตนเอง
และสังคมส่วนรวม ช่วยพัฒนาจิตใจและ
พฤติกรรมของบุคคลให้เป็นพลเมืองดีใช้
ความรู้ความสามารถที่จะดำเนินชีวิตอยู่ใน
สังคมได้อย่างเป็นปกติสุข และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น สามารถสร้างสรรค์คุณประโยชน์ต่าง ๆ แก่ตนเองและประเทศชาติได้อย่างมีหลักหรือแนวทางที่ถูกต้อง
คุณค่าของจริยธรรม
- จริยธรรมช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในทางที่ดีขึ้น สร้างความเจริญงอกงามให้แก่ร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กัน ทำให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์
- จริยธรรมช่วยให้มนุษย์รู้จักตนเอง มีความรับผิดชอบ สำนึกในหน้าที่ที่พึงมีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
- จริยธรรมช่วยให้เกิดสติปัญญา รู้จักการใช้ปัญญาในการหาเหตุผล รู้จักแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างมี สติ สามารถนำเอาหลักของจริยธรรมมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาได้
- จริยธรรมช่วยสร้างความสงบสุขให้แก่สังคม และสร้างสันติสุขให้แก่โลก
1.ข้อใดคือความหมายของจริยธรรม *
2.ข้อใดจัดเป็นองค์ประกอบของจริยธรรม *
3.ข้อใดจัดเป็นจริยธรรมภายใน *
4.ข้อใดจัดเป็นจริยธรรมภายนอก *
5.ข้อเปรียบเทียบคู่ใดมีความเหมาะสมสอดคล้องกันมากที่สุด *
6.ข้อใดไม่จัดว่าเป็นจริยธรรม *
7. ข้อใดไม่ใช่แหล่งกำเนิดของจริยธรรม *
8. พฤติกรรมใดของบุคลในสังคมที่ควรได้รับการแก้ไข *
9. ข้อใดแสดงถึงความสำคัญของวัฒนธรรมที่มีต่อมนุษย์ *
10.ข้อใดเป็นการกระทำที่เป็นภัยต่อสังคม *