Pic 1

“ทฤษฎี คือ คำอธิบายที่เป็นผลสรุปจากการศึกษาพัฒนาการและ
พฤติกรรมของมนุษย์ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์”
ความสำคัญของทฤษฎี
ทฤษฎีเป็นฐานแนวคิดที่ใช้อธิบายพัฒนาการของมนุษย
์ในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการนำร่องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการ
ของมนุษย์ในแง่มุมใหม่ ๆ

Pic 1

ความรู้จากทฤษฎีสามารถนำไปตั้ง
สมมุติฐานเพื่อการศึกษาตรวจสอบ นับเป็นการแสวงหาความจริง
ที่สามารถพิสูจน์และอ้างอิงได้
ในทางวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีทำให้ผู้ศึกษาทราบได้ว่า
ข้อมูลที่ศึกษานั้น ข้อมูลใดมีความน่าสนใจ อย่างไร ข้อมูลใดเป็นจริงหรือไม่
ทฤษฎีทำให้ทราบลักษณะพัฒนาการต่าง ๆ ของมนุษย์ในแต่ละช่วงวัยต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ทฤษฎีช่วยให้ได้ข้อเท็จจริงจากการแปรข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลหรือสรุปผล ข้อมูลที่ตรงประเด็นและน่า

 

 

Pic 2

ความเป็นมาของแนวคิดและ
ทฤษฎีทางจริยธรรม
ปรัชญาดึกดำบรรพ์ หมายถึง ปรัชญาของมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ ตั้งแต่โลกเริ่มมีมนุษย์อาศัยอยู่
ปรัชญายุคโบราณ หมายถึง ปรัชญาของชนชาติโบราณต่าง ๆ นับตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีการบันทึกหลักฐานไว้
ปรัชญายุคกลาง หมายถึง ปรัชญาของมนุษย์ซึ่งอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 529 – 1500
ปรัชญายุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1500 มาจนถึงสมัยปัจจุบัน

1. ข้อใดเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ *

  • ความรู้ความเข้าใจในด้านทฤษฎี
  • ความรู้ความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติ
  • ความรู้ความเข้าใจในงานวิจัย
  • ความรู้ความเข้าใจในทฤษฏีและวิธีการปฏิบ้ติ

2. ข้อใดกล่าวถึงทฤษฏีได้อย่างถูกต้อง *

  • ทฤษฏีมักผ่านการศึกษาวิจัยและทดลองใช้มาแล้ว
  • บางทฤษฏีอาจมีความซับซ้อนหรือมีมุมมองที่ต่างกันออกไป
  • ทฤษฏีเปรียบเสมือนแนวทางที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง
  • ทฤษฏีจัดเป็นแนวคิดที่เป็นข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้

3. ข้อใดเป็นการนำแนวคิดและทฤษฎีทางจริยธรรมไปใช้ประโยชน์
เพื่อส่วนรวมมากที่สุด *

  • ช่วยพยากรณ์พฤติการของบุคคลในสังคมได้
  • ช่วยในการวางแผนและจัดกระบวนการในการเรียนการสอนด้านจริยศึกษา
  • ช่วยให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลที่เบี่ยงเบนไปจากปกติ

4. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฏีทางจริยธรรม *

  • ปรัชญา
  • จิตวิทยา
  • มานุษยวิทยา
  • สัทวิทยา

5. บุคคลในข้อใดไม่ใช่นักจิตวิทยา *

  • โธมัส เอดิสัน
  • ซิกมันด์ ฟรอยด์
  • จีน เพียเจต์
  • อัลเบิร์ต แบดูรา

6. บุคคลในข้อใดเป็นเจ้าของทฤษฏีจิตวิเคราะห์ *

  • อับราฮัม มาสโลว์
  • ซิกมันด์ ฟรอยด์
  • อัลเบิร์ต แบนดูรา
  • ลอร์เรนซ์ โคลเบิร์ก

7. บุคคลในข้อใดเป็นเจ้าของทฤษฏีการเรียนรู้ทางสังคม *

  • จีน เพียเจต์
  • คาร์ล จี.จุง
  • อัลเบิร์ต แบนดูรา
  • อับราฮัม มาสโลว์

8. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับทฤษฏีทางจริยธรรม *

  • ทฤษฏีการเรียนรู้เชิงสังคม
  • ทฤษฏีพัฒนาการทางความคิด
  • ทฤษฏีมนุษยนิยม
  • ทฤษฏีเชิงภวนิยม

9. ข้อใดเป็นความน่าเชื่อถือของการนำทฤษฏีทางจริยธรรมไปใช้ประโยชน์ *

  • เพราะเป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์เพ
  • เพราะเป็นการศึกษาที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์เ
  • เพราะนำมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้
  • เพราะเป็นผลมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

10.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง *

  • อิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้ เป็นองค์ประกอบของบุคลิกภาพ
  • ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์มี 5 ลำดับ
  • การแบ่งเหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบิร์กมี 5 ขั้น
  • การแบ่งลำดับขั้นของการพัฒนาทางความคิดของเพียเจต์มี 4 ขั้น